RSS

ปัญจขันธ์ Gynostemma pentaphyllum


ปัญจขันธ์
ช่วยลดคลอเรสเตอรอล ปรับระดับสมดุลของความดันเลือดในร่างกาย
ระบบย่อยอาหาร ระดับน้ำตตาลในเลือด เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจ
ชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกาย ช่วยให้นอนหลับ คลายความวิตกกังวล ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Gynostemma pentaphyllum (Thunb.)
ชื่ออื่น ชาสตูล เบญจขันธ์ เจียวกู่หลาน เซียนเฉ่า
ลักษณะของพืช เป็นไม้เถาล้มลุก ลำต้นเล็กเรียวยาว ลำต้นที่เลื้อยยางแตกกิ่งแขนงได้ บริเวณข้อของลำต้นที่ทอดนอนไปตามดินจะออกรากได้ ใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามืออกสลับ ส่วนมากมีใบย่อย 5 ใบ ดอกเล็ก สีเหลืองปนเขียว ผลค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4- 7 มิลลิเมตร
ส่วนที่ใช้เป็นยา ต้นส่วนเหนือดินและ ใบมีรสขม หรือขมอมหวาน
สรรพคุณและวิธีใช้ แพทย์แผนจีนใช้ส่วนเหนือดินหรือใบเป็นยาแก้อักเสบแก้ไอ ขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง
การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด การใช้ลำต้นใต้ดิน การใช้เถาปักชำ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
สภาพดินฟ้าอากาศ ชอบที่ร่ม อากาศชื้น ไม่ชอบอากาศร้อนจัด ไม่ทนความแห้งแล้ง
การปลูก ย้ายกล้าประมาณ 45-60 วัน ไปปลูกในแปลงปลูก นิยมปลูกเป็นแถวแบบยกร่อง ขุดหลุมกว้างลึกประมาณ 1 คืบ ใส่ปุ๋ยหมักพร้อมเชื้อราสีเขียว(ไตรโคเดอร์มา) รองก้นหลุมประมาณหลุมละ 1 กำมือ พื้นที่ปลูกควรมีร่มเงา หรือมีแสงรำไร
การบำรุงรักษา ในช่วงแรกของการปลูกต้องมีการให้ร่มเงาและบังแสงแดด และให้ความชื้นสม่ำเสมอ (รดน้ำเช้า-เย็น) เมื่อปลูกไปได้สักระยะควรมีการให้ปุ๋ย พรวนดิน ตัดกิ่งที่ไม่ได้รับแสงแดดหรือกิ่งแห้งออกไป
เอกสารอ้างอิง กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข “แนวทางการผลิตวัตถุดิบปัญจขันธ์ ในประเทศไทย” พิมพ์ที่ ร้านพุ่มทอง ครั้งที่ 1 นนทบุรี 2548

ปัญจขันธ์ กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านอนุมูลอิสระ

ปัญจขันธ์ พืชล้มลุกชนิดเถาเลื้อยที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมีในประเทศไทย อยู่ในวงศ์แตง แต่คนไทยเพิ่งจะเริ่มปลูกและให้ความสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ในขณะที่คนจีนในภาคใต้ของประเทศนำปัญจขันธ์มาบำรุงร่างกายกันนานแล้ว โดยคนจีนรู้จักกันในชื่อ เจียวกู่หลาน หรือเซียนเฉ่า (สมุนไพรอมตะ) และเริ่มแพร่หลายเข้าไปในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๑๓ มีชื่อญี่ปุ่นว่า อะมาซาซูรู แปลว่า ชาหวานจากเถา

มีงานวิจัยสมุนไพรนี้จากประเทศจีนและญี่ปุ่นจำนวนมาก พบว่ามีสารสำคัญที่เรียกว่าสารกลุ่มจิปพีโนไซด์ ซึ่งเป็นสารประเภทไตรเทอร์พีนซาโพนินที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายสารกลุ่มจินเซนโนไซด์ที่พบในโสม ทั้งๆที่พืชทั้ง ๒ ชนิด ไม่มีความสัมพันธ์กัน โดยสารจิปพีโนไซด์ที่พบในปัญจขันธ์มีมากกว่า ๘๐ ชนิด โดยมี ๔ ชนิดที่เหมือนกับที่มีในโสม และอีก ๑๑ ชนิด มีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับจินเซนโนไซด์ มีรายงานการวิจัยในห้องปฏิบัติการในหลอดทดลองและในสัตว์ทดลอง

ฤทธิ์ของสารจิปพีโนไซด์ในปัญจขันธ์หรือสารสกัดปัญจขันธ์

ต้านอนุมูลอิสระ
ลดระดับไขมันในเลือด
เสริมภูมิคุ้มกัน
ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งบางชนิด
ยับยั้งการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด
ต้านอักเสบ
ลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยมีการพบสารซาโพนิน ชื่อฟาโนไซด์ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน
ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหารในหนูที่เกิดจากการกระตุ้นด้วยการให้แอลกอฮอล์ร่วมกับกรดเกลือ หรือจากยาต้านอักเสบอินโดเมทาซิน หรือจากการกระตุ้น ให้หนูเกิดความเครียด
กระตุ้นการหลั่งไนตริกออกไซด์จากเซลล์ผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ป้องกันการเกิดพิษต่อตับของสารที่เป็นพิษต่อตับ เช่น พาราเซตามอล คาร์บอนเตตราคลอไรด์
สำหรับการวิจัยทางคลินิกนั้น จีนจึงได้ศึกษาวิจัยประสิทธิผลของปัญจขันธ์ต่อระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการผ่าตัดและได้รับเคมีบำบัดรวมทั้งฉายแสง พบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาต้มปัญจขันธ์ ขนาด ๓๐ กรัม/วัน นาน ๓ สัปดาห์ มีการแบ่งตัวของลิมโฟไซต์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับกลุ่มที่ได้รับสมุนไพร กระตุ้นภูมิคุ้มกันอีกชนิดหนึ่ง คือ ราก Radix Astragali seu Hedysari (Huangqi
)

นอกจากนี้ จากการวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีและเคมีบำบัด พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับปัญจขันธ์มีการพยากรณ์โรคดีกว่า คือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งช้ากว่า และมีอายุยืนกว่าในประเทศญี่ปุ่นและจีนได้จดสิทธิบัตรของสารสกัดปัญจขันธ์เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลายชนิด ได้แก่ เครื่องสำอางบำรุงผิว ผม หนังศีรษะ ผลิตภัณฑ์กระตุ้นการเจริญของผม เครื่องดื่มหรือชาสมุนไพร อาหารสุขภาพ ยาทาลดความอ้วน อาหารช่วย ลดไขมันในเลือด สารสกัดช่วยกระตุ้นการเจริญของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้ และสารจิปพีโนไซด์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งบางชนิด เป็นต้น

สำหรับประเทศไทย ในส่วนของกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สถาบันการแพทย์ไทย-จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีโครงการความร่วมมือกับประเทศจีน ในการนำสมุนไพรจีนมาทดลองปลูกในประเทศ ผลการศึกษาในเบื้องต้นพบว่า ปัญจขันธ์สายพันธุ์ของจีนมีสารสำคัญสูงกว่าสายพันธุ์ของไทย ซึ่งตรงกับผลการวิจัยของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ที่พบว่าพันธุ์จากจีนมีสารสำคัญมากกว่าพันธุ์โครงการหลวงอ่างข่าง ซึ่งจะได้มีการขยายพันธุ์ต่อไป สำหรับสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาวิจัยสมุนไพรปัญจขันธ์พันธุ์ของไทยทางพฤกษเคมีเพื่อพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์คุณภาพ และศึกษาพบว่าปัญจขันธ์มีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 protease และได้ศึกษาพิษเรื้อรังของสารสกัดด้วยน้ำของปัญจขันธ์ในขนาด ๖, ๓๐, ๑๕๐ และ ๗๕๐ มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ในหนูขาวนาน ๖ เดือนแล้ว พบว่ามีความปลอดภัย ขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยในผู้ติดเชื้อ HIV

นอกจากนี้ สถาบันวิจัยสมุนไพรได้ร่วมมือกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ จังหวัดเชียงใหม่ ในการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกปัญจขันธ์แบบอินทรีย์ในพื้นที่สวนป่าสันกำแพง และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร รวมทั้งศึกษาวิจัยร่วมกันถึงวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยวและการขยายพันธุ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังได้รับงบกลางรายการค่าใช้จ่ายเพื่อการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ (งบยากจน) จำนวน ๑.๔ ล้านบาท ซึ่งได้นำไปใช้ในการส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายปลูกปัญจขันธ์ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตชาสมุนไพรปัญจขันธ์ต่อไป
การบรรยายประชุมวิชาการ เรื่อง การส่งเสริมสุขภาพด้วยปัญจขันธ์

โดย : ดร.ประคองศิริ บุญคง


สรุปการบรรยายประชุมวิชาการกรมพัฒน์ฯ (วันพุธ)
เรื่อง "การส่งเสริมสุขภาพด้วยปัญจขันธ์"
โดย ดร.ประคองศิริ บุญคง
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2548 เวลา 10.00-12.00 น.
ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ


สมุนไพรปัญจขันธ์ เดิมมีชื่อว่า “เจียวกู่หลาน” ในประเทศจีนนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร และใช้เป็นชาชง ต่อมาได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อการบำรุงรักษาสุขภาพ การรับประทานเพื่อการรักษานั้นมีสรรพคุณรักษาอาการไอ, แก้ร้อนใน ต่อมาได้มีการวิจัยและพัฒนามากยิ่งขึ้น พบว่าการรับประทานสมุนไพรปัญจขันธ์ ในปริมาณมากจะทำให้มีการเสริมสร้างและการรวมตัวของโปรตีนและกรดไขมันในตับ เสริมสร้างเซลล์ไขมันในกระดูก มีผลต่อการรักษาโรคภายในช่องอกและโรคโลหิตจาง ช่วยในการบำรุงสมอง ระงับประสาท สามารถต้านการเจริญเติบโตของโรคร้ายได้ ในประเทศจีนมีการใช้ เจียวกู่หลานมานานแล้ว เพื่อรักษาโรคหลอดลมเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดแข็งตัว, ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ ช่วยในการนอนหลับ, ลดอาการตื่นเต้น, ลดคอเลสเทอรอล, ควบคุมเบาหวาน ชะลอความชรา, ยืดอายุเซลล์, เพิ่มจำนวนอสุจิ และรักษาอาการปวดหัวข้างเดียว, ควบคุมการแพร่ของเซลล์มะเร็ง


ในประเทศไทยนั้น สมุนไพรปัญจขันธ์ที่มีอยู่ในเมืองไทยจะเป็น “เจียวกู่หลาน” พันธุ์ไทยนิยมปลูกทางตอนเหนือของประเทศ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงสนับสนุนให้ชาวเขามีการปลูก สมุนไพรปัญจขันธ์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงมากมีราคากิโลกรัมละ 1,000 กว่าบาท โดยถือว่าเป็นพืชที่มีความปลอดภัยสูง และเป็นยาพื้นบ้านของชาวเขาเผ่า “ลาฮู” โดยใช้ทั้งสมุนไพรทั้งต้นพอก และรักษาแผล รักษากระดูกอาการปวดกระดูก แต่ในประเทศจีนใช้ส่วนเหนือดินใช้เป็นยาแก้อักเสบ ขับเสมหะ แก้ไอและหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง และยังสามารถที่แปรรูปเป็นชาชง มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย, แก้อาการอ่อนเพลีย, ช่วยในการเจริญอาหาร, ช่วยให้นอนหลับ ซึ่งมีคุณสมบัติคล้าย “โสมคน ” แต่สามารถรับประทานได้เป็นประจำและมีความปลอดภัย ต่างจาก“โสมคน ”ซึ่งหากใช้เกินปริมาณที่กำหนดอาจเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายได้


ในประเทศญี่ปุ่นนิยมนำสมุนไพรปัญจขันธ์เป็นยาที่ขับปัสสาวะ, ลดไข้, แก้อักเสบ, บำรุงกำลังและเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์แก้ผมหงอก, ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย, ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ


สารออกฤทธิ์ของปัญจขันธ์มีชื่อเรียกว่า “กิปิโนไซด์ ” ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายคลึงกับ “จินเซ็นโนไซด์” ในโสมคน ปัญจขันธ์จะมีสารประกอบ ซาโปนิน 82 ชนิด ซึ่งโสมคนจะมีอยู่ 28 ชนิด แต่มีเหมือนกันอยู่ 4 ชนิด คือ

จินเซ็นโนไซด์อาร์บี-1
จินเซ็นโนไซด์อาร์บี-3
เซโนไซด์อาร์ดี
เซโนไซด์เอฟ-3

สถาบันการแพทย์ไทย - จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้จัดทำโครงการสนับสนุนการปลูกสมุนไพรปัญจขันธ์เพื่อลดการนำเข้าวัตถุดิบของสมุนไพร โดยมีการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำพันธุ์มาจากประเทศจีนมาปลูกในประเทศไทย ซึ่งกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้รับความร่วมมือจากหน่วยทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายหน่วยงาน อาทิ กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อที่ช่วยดูแลดินในการเพาะปลูกเพื่อให้มีคุณภาพ, กรมวิชาการเกษตรให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก, กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ดูแลและตรวจเรื่องของคุณภาพ, องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ให้ที่ดินในการเพาะปลูก, กรมส่งเสริมการเกษตรและองค์การเภสัชกรรมช่วยดูแลในเรื่องของการตลาด


สมุนไพรปัญจขันธ์ เป็นไม้เลื้อย ชอบที่ร่ม อากาศชื้น ไม่ชอบอากาศร้อนจัดและไม่ทนความต่อความแห้งแล้ง ความสูงจากน้ำทะเล 300-3,200 เมตร ขั้นตอนการปลูกต้องทำการสำรวจดิน และความชื้นที่เหมาะสม สิ่งที่ต้องระวังคือ การปนเปื้อนของสารพิษ สารพิษตกค้าง สารหนูและโลหะหนัก

ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรปัญจขันธ์มาสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

- ชาชง
- เครื่องสำอาง เช่น แชมพู, สบู่, โลชั่น ผสมสารคาร์โมมายด์ เพื่อให้ผิวพรรณนุ่มชุ่มชื้น
- อาหารเสริมสุขภาพ
- ชาชงพร้อมดื่ม
- ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งผสมปัญจขันธ์
- หมากฝรั่ง, ไอศกรีม

เรียบเรียงโดย
สถาบันการแพทย์ไทย - จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสมุนไพรปัญจขันธ์เป็นส่วนผสม:



พอลลีนา เคดี
Paulena KD
ส่วนประกอบที่สำคัญ สมุนไพรหลัก 5 ชนิด เช่น ปัญจขันธ์ เก๋ากี้ ชิซานดร้า เห็ดหลินจือ โสมเกาหลีและพืชสมุนไพรอีก 10 ชนิด
สรรพคุณ บำรุงอวัยวะต่างๆของร่ายกายเช่น ตับ ไต หัวใจ ม้ามและปอดให้ทำงานเป็นปกติ ทำให้ร่างกายแข็งแรง บำรุงโลหิต บำรุงประสาท เพิ่มสมาธิ บรรเทาอาการเครียด นอนไม่หลับ ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดคลอเรสเตอรอล บำบัดภูมิแพ้ ควบคุมเบาหวาน

เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ เพิ่มความเป็นหนุ่มสาว
วิธีรับประทาน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 1-2 ครั้ง ก่อนอาหาร
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทะเบียนอย. เลขที่ 73-1-32023-1-0022

ราคาขาย 1,200 บาท
ราคาสมาชิก 878 บาท
PV 750 BV 550
PLAN A-B2
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม/สั่งซื้อสินค้า... 


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสั่งซื้อสินค้าได้ที่...

ร้านสะดวกซื้อพอลลีน่า Paulena Shopping Plaza ขอขอบพระคุณลูกค้าที่ให้การอุดหนุนร้านของเราด้วยดีเสมอมา!

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น